1. พระวิษณุกรรม ยืน หน้าตัก 9 นิ้ว
#พระวิษณุกรรม,#พระวิศวกรรม,#พระเพชรฉลูกรรม พระวิษณุกรรมเป็นนายช่างใหญ่ของพระอินทร์ จุติเพื่อสร้างสรรค์เครื่องมือ อุปกรณ์ สิ่งของ งานหัตถศิลป์ต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น เปรียบเสมือนเป็น พระครูวิชาช่าง ที่นําพาความรู้ต่าง ๆ มาสอนแก่มนุษย์ “....โอม สะศาง ขะจักรัม สะกิริฎะกุณตะลัม สิปตะวัสตรัม.... พระวิษณุกรรม หน้าตัก 9 นิ้ว (ยืน) ขนาด 9 นิ้ว ฐานกว้าง 16 cm. ฐานยาว 16 cm. แขนกว้าง 36 cm. สูง 61 cm. น้ําหนัก ทอง 10 กิโลกรัม พระวิศวกรรม (สันสกฤต: विश्वकर्मा) หรือ พระวิษณุกรรม (บาลี: วิสฺสุกมฺม) หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตํานานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจําลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสําหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสําหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดําเนินชีวิต คือความแม่นยํา เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจําใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่าง NoBrand